วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

เที่ยวเพลินใจ ได้เรียนรู้


เที่ยวศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 

        สวัสดีค่ะ วันนี้นับหนึ่งจะพาไปดูแหล่งท่องเที่ยวส่งเสริมการเรียนรู้ที่ชื่อว่า "ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา"ตั้งอยู่ที่ถนนสุขุมวิท (ใกล้กับสถานีขนส่งเอกมัย) เป็นศูนย์แสดงและเผยแพร่ความรู้ เช่น
การจัดนิทรรศการ บรรยายความรู้สาขาต่างๆ ของวิชาวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น.

        ไปกันเลย วันเสาร์ที่ 8 กันยายน 2555 นับหนึ่งเริ่มออกเดินทางจากบ้านในเวลา 14.30 น. เดินทางด้วยรถยนต์ ใช้เวลาเดินทางจากสุขุมวิท 49 ไปถึงศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ที่เอกมัย เนื่องจากสภาพการจราจรค่อนข้างคล่องตัว จึงใช้เวลาประมาณ 20 นาทีก็ถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพ



ถึงแล้วค่ะ ^^
   



การที่จะเข้าชมนิทรรศการต่างๆ ของศูนย์วิทยาศาสตร์นั้นทุกคนจะต้องซื้อบัตรเข้าชมนิทรรศการและท้องฟ้าจำลองก่อนนะคะ รอบการฉายดาวที่ท้องฟ้าจำลองก็จะมีเป็นรอบๆ  ส่วนราคาบัตรจะบอกไว้ที่จำหน่ายบัตรเลยค่ะ (มีขอชื่นชมให้กับประชาสัมพันธ์ค่ะ พูดจาได้ไพเราะน่าฟังดี)

ถ้าใครมีของติดมือมามากมายก็สามารถนำมาฝากไว้ที่นี้ได้เลยค่ะ ไม่เสียค่าใช่จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ซื้อบัตรมาแล้วในราคา 30 บาท ได้รอบเข้าชมท้องฟ้าจำลองเวลา 15.00 น. ซึ่งเป็นรอบสุดท้ายพอดี


ไปกันเลยอาคาร 1 ท้องฟ้าจำลอง

 าคาร 1 ท้องฟ้าจำลอง 
         ในอาคาร 1 ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ ห้องฉายดาว และส่วนแสดงนิทรรศการรอบห้องฉายดาว จัดแสดงนิทรรศการความรู้ด้านดาราศาสตร์และอวกาศ ค้นหา พิสูจน์ ความลี้ลับของจักรวาลด้วยเครื่องฉายดาวและสื่อนิทรรศการดาราศาสตร์ “ชีวิตกับดวงดาว” หนึ่งชอบมากๆ เลยค่ะ เครื่องฉายดาวฉายแสงไปที่โดมทำให้เกิดดาวต่างๆ มากมายบนโดม เช่น กลุ่มดาวเคราห์ ดาวเสาร์ ดาวอังคาร ดาวลูกไก่ สารพัดดวงดาว มากมายจริงๆ จำไม่หมด ทำให้เกิดจินตนาการระหว่างที่มองดูดวงดาวว่าดวงดาวกลุ่มนั่นเหมือนรูปอะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร มีการบรรยายความรู้เกี่ยวกับอวกาศ ดวงดาว แสงจากอันโดรเมดา เป็นต้น  โรแมนติกและสวยงามสุดๆ เหมือนนอนดูดาวบนฟ้าในยามราตรีเลยค่ะ


นี้คือส่วนหนึ่งในนิทรรศการอาคารท้องฟ้าจำลองนะคะ 

ภายในห้องฉายดาว ภาพนี้แอบถ่ายตอนเข้าไปในห้องฉายดาว ตอนนี้ยังพอถ่ายได้บ้างนะคะ แต่ถ้าเจ้าหน้าที่เริ่มฉายดาวแล้วห้ามถ่ายภาพเพราะจะเกิดรบกวนเวลาเครื่องฉายดาวทำงานค่ะ


เริ่มฉายดาวแล้วค่ะ เจ้าหน้าที่บอกว่าจะฉายดาวเป็นเวลาทั้งหมด 1 ชั่วโมงระหว่างนี้งดถ่ายภาพและงดใช้โทรศัพท์มือถือ เอาเป็นว่าเลิกถ่ายภาพและก็งดใช้โทรศัพท์มือถือตามกฏระเบียบแล้วกันนะคะ

ดูดาวเสร็จแล้วก็ออกมานั่งชิวถ่ายถาพกันสักหน่อย อ่อ! ขอเล่าความรู้สุกในระหว่างที่ดูดาวในห้องฉายดาวให้ฟังก่อนนะคะ คือทันทีที่เห็นดาวหลายๆ ดวงฉายไปบนโดมมันรู้สึกทึ่งในความสามรถของคนผลิตเครื่องฉายดาว เขาเก่งจริงๆ ที่สามารถนำภาพดวงดาวหลายพันดวงมาฉายให้เราดูได้แบบเสมือนจริงมากๆ บรรยากาศเมื่อมองดูดาวบนโดมแล้วโรแมนติกสุดๆ สวยงามสุดๆ อยากดูแล้วอยากดูอีกเลยค่ะ


มาต่อกันที่อาคารที่ 2 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
       ภายในอาคาร 2 จะจัดสื่อนิทรรศการหลากหลาย ที่ค้นคว้า ทดลอง หาคำตอบ คำอธิบาย ที่พิสูจน์ได้ ด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์ ก็จะมีทั้งหมด 4 ชั้นนะคะ 
                  ชั้นที่ 1 จัดแสดงนิทรรศการวิทยาศาสตร์แสนสนุก, ธีออส ดวงตาแห่งธรรมชาติ, ดินแดนแห่งแร่, จตุรัสเทคโนดโลยี
                  ชั้นที่ 2 จัดแสดงนิทรรศการ คอมพิวเตอร์เพื่อชุมชน, ชีวิตกับเวลา, FUN SCIENCE, ห้องมหกรรม 3D, คณิตศาสตร์แสนสนุก, โลกแม่เหล็ก
               ชั้นที่ 3 จัดแสดงนิทรรศการ เทคโนโลยีหุ่นยนต์, ท่องแดนปิโตเลียม
               ชั้นที่ 4 จัดแสดงนิทรรศการ ความลับของสิ่งมีชีวิต, ดาวเคราะห์สีฟ้า
อาคาร 2 หนึ่งต้องรีบทำเวลาเพราะใกล้เวลาศูนย์วิทยาศาสตร์จะปิดแล้ว รับเดิน รีบดูเหนื่อยเหมือนกันค่ะ แต่ก็สนุกดี ^^ ได้พบเห็นอะไรแปลกๆ มากมาย และที่สำคัญยังได้ความรู้ไปประดับหัวอีกด้วย


ชมหินแร่ต่างๆ ที่จัดนิทรรศการเอาไว้


ชมๆ ภาพกันไปนะคะ เพราะก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเขาเรียกว่าอะไร แต่รูปร่างสวยดีเลยถ่ายภาพมาฝากค่ะ

 มาถึงแล้วอาคาร 3 อาคารโลกใต้น้ำ
อาคาร 3 โลกใต้น้ำจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของความสัมพันธ์และความมหัศจรรย์ของชีวิตสัตว์และพืชที่น่าพิศวงของโลกใต้น้ำ สร้างความรู้สึกรักและเข้าใจธรรมชาติ การปลูกจิตสำนึกให้อยากรักษาธรรมชาติ ซึงมีการจัดแสดงตู้ปลาอยู่หลายตู้ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม แต่ที่หนึ่งชอบมากที่สุดก็คือตู้ปลานีโม่ค่ะ ชอบมากๆเลย ^^









รักปลานีโม่ >////<

ปลาแรดตัวใหญ่ (น่าอร่อยจริงๆ 555)

           เมื่อเดินทางมาถึงอาคาร 3 เวลาก็หมดลงแล้ว T_T เลยเที่ยวไม่ครบเลย วันนี้สนุกมากค่ะ อากาศดี บรรยากาศดี และที่หนึ่งชอบมากที่สุดก็คงจะเป็นท้องฟ้าจำลองค่ะ เพราะดาวสวยสุดๆ ได้ความรู้ต่างๆ มากมายเกี่ยวกับอวกาศและดวงดาว วันนี้เวลาหมดแล้วเอาไว้วันหน้าค่อยมาใหม่แล้วกัน ใครสนใจก็เชิญได้นะคะ รับรองว่าทั้งสนุกและได้เรียนรู้ไปด้วย คุ้มค่าจริงๆ ค่ะ 

 ข้อมูลทั่วไปของ "ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา"

  ประวัติความเป็นมาของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
ปีสังกัดรายละเอียด
พ.ศ. 2498กรมวิชาการจัดตั้งกองอุปกรณ์การศึกษา
พ.ศ. 2501กรมวิชาการคณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ มอบอาคาร “ศาลาวันเด็ก” ในบริเวณสนามเสือป่า
พ.ศ. 2505กรมวิชาการคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ โดย มล.ปิ่น มาลากุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สร้าง ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ
พ.ศ. 2507กรมวิชาการวันที่ 18 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารท้องฟ้าจำลอง
พ.ศ. 2514กรมวิชาการสภาคณะปฏิวัติมีมติเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการจัดตั้ง พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2518กรมวิชาการเดือน สิงหาคม เริ่มก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2519กรมวิชาการประกาศพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการใหม่ จัดตั้งหน่วยงานระดับกองหน่วยใหม่ คือ ศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษา ประกอบด้วยหน่วยงานหลัก คือ ศาลาวันเด็ก ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2522กรมการศึกษา นอกโรงเรียน
  • วันที่ 24 มีนาคม ประกาศจัดตั้งกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีศูนย์บริภัณฑ์เพื่อการศึกษาเป็นหน่วยงานในสังกัด
  • วันที่ 9 สิงหาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย
พ.ศ. 2537กรมการศึกษา นอกโรงเรียนเปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น “ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา” ในสังกัดกรมการศึกษานอกโรงเรียน
พ.ศ. 2545
พ.ศ. 2551
สำนักงานปลัดกระทรวง ศึกษาธิการ
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
เปลี่ยนชื่อกรมการศึกษานอกโรงเรียนเป็น สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
เปลี่ยนชื่อสำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนเป็น สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

วัตถุประสงค์ของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา
         มุ่งมั่นสร้างวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ในสังคมไทย ส่งเสริมความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเพิ่มคุณภาพทรัพยากรบุคคลของประเทศ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ตามอัธยาศัยและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

        "ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา" เป็นศูนย์แสดงและเผยแพร่ความรู้ เช่น การจัดนิทรรศการ บรรยายความรู้สาขาต่างๆ ของวิชาวิทยาศาสตร์ และดาราศาสตร์ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. มีนิทรรศการทั้งหมด 6 อาคารและยังมีกิจกรรมอีกมากมายที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้

ที่อยู่  ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา 928 ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
สถานที่ใกล้เคียง สถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย, ร้านศึกษาภัณฑ์พานิชย์ท้องฟ้าจำลอง
โทรศัพท์   0-2391-0544, 0-2392-0508, 0-2392-1773
โทรสาร     0-2392-0508, 0-2391-0522
E-mail     
nsce@sci-educ.nfe.go.thWebsite  http://www.sciplanet.org
 
การเดินทาง  รถโดยสารประจำทาง สาย 2, 25, 38, 40, 72, 501, 511, 513, 508
                   รถไฟฟ้าบีทีเอส (ลงที่สถานีเอกมัย)


แผนที่



ลักษณะของการนำเสนอเนื้อหาในแหล่งเรียนรู้
      ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการเรียนรู้จจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ธรรมชาติวิทยา สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์สุขภาพ ดาราศาสตร์และอวกาศ ในรูปแบบของการจัดนิทรรศการ การแสดง กิจกรรมการศึกษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อนิทรรศการ สื่อโสตทัศน์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ค่ะ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
     หนึ่งคิดว่าอาคาร 3 น่าจะเพิ่มการจัดแสดงปลาให้มีหลากหลายชนิดมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าชมได้ศึกษาความหลากหลายของปลามากขึ้น
   
ขอขอบคุณ 
พลทหารประพัฒน์ ถมหนวด ที่ทำให้การเดินทางในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี